วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556

ประวัติวันเด็ก

ย้อนไป พ.ศ.2498 ได้เกิดปฏิญญาว่าด้วยสิทธิเด็กขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติทั่วโลกเกิดความตื่นตัวและเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะให้ความสำคัญแก่เด็กๆ
ของตนมากขึ้น การขานรับเป็นไปอย่างกว้างขวาง ในปีเดียวกันนั้นเองทั่วโลกไม่น้อยกว่า 40 ประเทศ จัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติของตนขึ้น
โดยกำหนดกันว่าจะถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ สำหรับประเทศไทย รับข้อเสนอของนายวี เอ็ม กุลกานี
ผู้แทนองค์กรสมาพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศ ซึ่งบอกผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยว่าไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติ
ิเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของเด็กให้มากขึ้น ดังที่นานาประเทศกำลังทำอยู่คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาตินำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม
ในที่สุดที่ได้รับมติเห็นชอบนำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ในต่อมาวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2498คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการให้จัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น
มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการ รับไปดำเนินการส่วนค่าใช้จ่ายในการจัดงานได้อนุมัติเงินจากกองสลากกินแบ่งรัฐบาลมาดำเนินการ
3 ตุลาคม พ.ศ.2498 คือวันเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติครั้งแรกของประเทศไทย จากนั้นเป็นต้นมาราชการได้กำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี
เป็นวันเด็กแห่งชาติ จัดติดต่อกันมาจนถึงปี 2506 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้นมีความเห็นพ้องต้องกันว่าสมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงาน
วันเด็กแห่งชาติเสียใหม่ เพื่อความเหมาะสม ด้วยเหตุผลว่าเดือนตุลาคมสำหรับประเทศไทย เป็นเดือนที่ยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็กๆไม่สะดวกในการเดินทางมาร่วมงาน
นอกจากนี้วันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครองจึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้ ทั้งการจราจรก็ติดขัดจึงเห็นว่าควรจะเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม
เสียทุกสิ่งทุกอย่าง ได้สะดวกสบายขึ้นและมีความเหมาะสมมากกว่าคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ตามที่คณะกรรมการจัดงานวัดเด็กแห่งชาติเสนอมา
ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2507จึงประกาศเปลี่ยนงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ จากวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม เป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ด้วยเหตุนี้ปี 2507
จึงไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว งานวันเด็กแห่งชาติเริ่มจัดขึ้นใหม่อีกครั้งในปี 2508 เรื่อยมาถึงปัจจุบัน
วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันเด็กแห่งชาติที่รัฐบาลไทยกำหนดไว้คือ เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของเด็ก สนใจในการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนเด็ก
และช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กเป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กและและเยาวชนยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเพื่อให้เด็กรู้จักหน้าที่ของตนและอยู่ในระเบียบวินัยอันดีและเพื่อเผยแพร่ปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิของเด็ก คำขวัญวันเด็ก
เป็นคำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทย เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี โดยคำขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2499 ในสมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม
ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็ก
จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคติเตือนใจสำหรับเด็ก ปีละ 1 คำขวัญ (ก่อนถึงวันเด็กแห่งชาติ) นายกรัฐมนตรีสมัยต่อมา จึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
สำหรับ คำขวัญวันเด็กตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีดังนี้ค่ะ
พ.ศ. 2499 - จอมพล ป.พิบูลสงคราม : จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม
พ.ศ. 2502 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ : ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า
พ.ศ. 2503 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ : ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด
พ.ศ. 2504 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ : ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย
พ.ศ. 2505 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ : ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด
พ.ศ. 2506 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ : ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด
พ.ศ. 2507 : ไม่มีคำขวัญ เนื่องจากงดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ
พ.ศ. 2508 - จอมพล ถนอม กิตติขจร : เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี
พ.ศ. 2509 - จอมพล ถนอม กิตติขจร : เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี
พ.ศ. 2510 - จอมพล ถนอม กิตติขจร : อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย
พ.ศ. 2511 - จอมพล ถนอม กิตติขจร : ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง
พ.ศ. 2512 - จอมพล ถนอม กิตติขจร : รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ
พ.ศ. 2513 - จอมพล ถนอม กิตติขจร : เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส
พ.ศ. 2514 - จอมพล ถนอม กิตติขจร : ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ
พ.ศ. 2515 - จอมพล ถนอม กิตติขจร : เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ
พ.ศ. 2516 - จอมพล ถนอม กิตติขจร : เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
พ.ศ. 2517 - นายสัญญา ธรรมศักดิ์ : สามัคคีคือพลัง
พ.ศ. 2518 - นายสัญญา ธรรมศักดิ์ : เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี
พ.ศ. 2519 - หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช : เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้
พ.ศ. 2520 - นายธานินทร์ กรัยวิเชียร : รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย
พ.ศ. 2521 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ : เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
พ.ศ. 2522 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ : เด็กไทยคือหัวใจของชาติ
พ.ศ. 2523 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ : อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
พ.ศ. 2524 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ : เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม
พ.ศ. 2525 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ : ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
พ.ศ. 2526 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ : รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม
พ.ศ. 2527 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ : รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา
พ.ศ. 2528 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ : สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
พ.ศ. 2529 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ : นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2530 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ : นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2531 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ : นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2532 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ : รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2533 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ : รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2534 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ : รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา
พ.ศ. 2535 - นายอานันท์ ปันยารชุน : สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม
พ.ศ. 2536 - นายชวน หลีกภัย : ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2537 - นายชวน หลีกภัย : ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2538 - นายชวน หลีกภัย : สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2539 - นายบรรหาร ศิลปอาชา : มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด
พ.ศ. 2540 - พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ : รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด
พ.ศ. 2541 - นายชวน หลีกภัย : ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
พ.ศ. 2542 - นายชวน หลีกภัย : ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
พ.ศ. 2543 - นายชวน หลีกภัย : มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
พ.ศ. 2544 - นายชวน หลีกภัย : มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
พ.ศ. 2545 - พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร : เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส
พ.ศ. 2546 - พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร : เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี
พ.ศ. 2547 - พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร : รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน
พ.ศ. 2548 - พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร : เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด
พ.ศ. 2549 - พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร : อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด
พ.ศ. 2550 - พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ : มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข
พ.ศ.2551 - พลเอก สุรยุธ์ จุลานนท์ : สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม
พ.ศ.2552 - นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคี
พ.ศ.2553 - นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม
พ.ศ.2554 - อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ
พ.ศ.2555 - ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร : สามัคคี มีความรู้ คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี
พ.ศ.2556 - ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร : รักษาวินัย ใฝ่เรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญา นำพาไทยสู่อาเซียน

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประวัติ Alan Turing

ประวัติ Alan Turing



แอลัน แมธิสัน ทัวริง (Alan Mathison Turing) เกิดเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นนักคณิตศาสตร์, นักตรรกศาสตร์, นักรหัสวิทยา และวีรบุรุษสงคราม ชาวอังกฤษ และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นบิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นผู้สร้างรูปแบบอัลกอริทึมและการคำนวณ โดยใช้เครื่องจักรทัวริง อย่างเป็นทางการทางคณิตศาสตร์ หรือ บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง Alan Turing มีส่วนสำคัญในการแกะรหัสลับของฝ่ายเยอรมัน โดยเขาเป็นหัวหน้าของกลุ่ม Hut 8 ที่ทำหน้าที่ในการแกะรหัสของเครื่องอีนิกมาที่ใช้ในฝ่ายทหารเรือ หลังจากสงครามโลก เขาได้ออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถโปรแกรมได้เครื่องแรกๆ ของโลกที่ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์แห่งชาติ และได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นจริงๆ ที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์




เหตุการณ์สำคัญบางส่วนในชีวิต Alan Turing
            ปี พ.ศ. 2474 เขาเข้าเรียนคณิตศาสตร์ ที่ คิงส์คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ทัวริงมีความสุขกับชีวิตที่นี่มาก ทัวริงพูดเสมอว่า “งานของผมนั้นเครียดมาก และทางเดียวที่ผมจะเอามันออกไปจากหัวได้ก็คือ วิ่งให้เต็มที่” และเขาก็วิ่งอย่างจริงจัง จนได้ระดับโลก โดยที่ผลการวิ่งมาราธอนของเขา ชนะเลิศการแข่งขันของสมาคมนักกรีฑาสมัครเล่น ด้วยเวลา 2 ชั่วโมง 43 นาที 3 วินาที ในปี พ.ศ. 2489. ซึ่งในการแข่งขันวิ่งมาราธอนโอลิมปิก เมื่อ พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) คนที่ได้เหรียญทอง ทำเวลาได้เร็วกว่าเขาเพียง 11 นาที

            ในปี ค.ศ. 1952 เขาถูกจับ โทษฐานมีเพศสัมพันธ์กับเด็กชาย ทัวริงไม่ปฏิเสธและยอมรับโทษแต่โดยดี มีทางเลือกให้เขาสองทางคือ หนึ่ง เข้าคุก หรือ สอง รับการฉีดฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นเวลาหนึ่งปีเพื่อลดความต้องการทางเพศ ซึ่งเขาเลือกที่จะรับการฉีดยา และแล้วปี ค.ศ. 1954 ร่างของทัวริงก็ถูกพบโดยพนักงานทำความสะอาด ในสภาพมีแอปเปิลครึ่งลูกหล่นอยู่ข้างๆ และมีร่องรอยการทำการทดลองทางเคมีอยู่ใกล้ๆ ในที่สุดเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552 หลังจากการรณรงค์ทางอินเทอร์เน็ต กอร์ดอน บราวน์นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรก็ทำการขอโทษอย่างเป็นทางการในนามของรัฐบาลบริติชต่อวิธีอันไม่ถูกต้องที่รัฐบาลปฏิบัติต่อทัวริงหลังสงคราม


            เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 1954 แม่บ้านได้พบว่า Turing ตายแล้ว ซึ่งจากการชันสูตรพลิกศพาพบว่าเขาได้ตายวันก่อนหน้านี้แล้ว คือ วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2497 โดยสาเหตุของการตาย คือ ร่างกายได้รับพิษไซยาไนด์ และการพิจารณาคดีระบุว่าเขาได้ฆ่าตัวตาย โดยอายุ 41 ปี



This rebuilt Bombe can be found in the Bletchley Park Visitors Center. It works

Not having a freely accessible patent of the damn thing might have made cracking the little shit impossible



สำหรับผลงานที่เด่น ๆ ของ Alan Turing เช่น การคิดโมเดลที่สามารถทำงานได้เทียบเท่ากับคอมพิวเตอร์ (แต่อาจมีความเร็วต่ำกว่า) โดยใช้คำสั่งพื้นฐานง่ายๆ เพียง เดินหน้า ถอยหลัง เขียน ลบ เท่านั้นเอง



ขอบคุณข้อมูล : http://en.wikipedia.org